การแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ ในความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามมาตรา ๔ แห่ง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มี ๘ รูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่ ๑ การค้าประเวณี
การค้าประเวณี หมายความว่า “การยอมรับการกระทำชำเราหรือการยอมรับการกระทำอื่นใดหรือการกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่นอันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยอมรับการกระทำและผู้กระทำจะเป็นบุคคลเพศเดียวกันหรือคนละเพศ” การค้ามนุษย์ในรูปแบบนี้คือ การนำมนุษย์ไปเป็นโสเภณี อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.๒๕๓๙
คำว่า “การกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่” อันเป็นการค้าประเวณี หมายความรวมไปถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยปากให้แก่ผู้อื่นด้วย ส่วนคำว่า “เพื่อประโยชน์อื่นใด” นั้นไม่จำกัดว่าจะเป็นตัวเงินอย่างเดียว แต่มีความหมายกว้างกว่าสินจ้าง
การกระทำความผิดฐานค้าประเวณีนั้น แม้ว่าผู้ถูกกระทำชำเราหรือผู้กระทำชำเราได้สมัครใจยอมรับการกระทำ โดยไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญ ก็เป็นความผิดฐานค้าประเวณีได้ แต่ถ้าจะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้นั้น ถ้าผู้ถูกกระทำชำเรามีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะเข้าความผิดฐานค้ามนุษย์ได้นั้นผู้นั้นต้องถูกข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ฯลฯ ซึ่งหมายถึงการไม่สมัครใจนั่นเองตามมาตรา ๖ (๑) แต่ถ้าเป็นเด็กอายุยังไม่ถึง ๑๘ ปี แม้ไม่ต้องมีการข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ก็เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์แล้ว ตามมาตรา ๖ (๒) ทั้งนี้ การแสวงหาประโยชน์เพื่อประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว
รูปแบบที่ ๒ การแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบอื่น
การใช้เพศเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์หรือให้ขายสินค้าได้ แต่การกระทำนั้นต้องเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างอื่นด้วย เช่น การเปลือยกาย ซึ่งเป็นการแสดงลามกอนาจารในสถานที่สาธารณะหรือแสดงสิ่งที่น่าอับอายต่อหน้าธารกำนัล จึงจะเข้าลักษณะความผิดฐานค้ามนุษย์ กรณีรูปแบบนี้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับจึงจะเป็นความผิด ถ้าเป็นเด็กไม่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับก็เป็นความผิด
รูปแบบที่ ๓ การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก
สื่อลามก หมายถึง เป็นการแสดงออกในรูปภาพเปลือย เห็นอวัยวะเพศ มีเนื้อหาร่วมเพศ กระตุ้นทำให้เกิดความใคร่ทางกามารมณ์ เช่น ภาพหญิงเปลือยท่อนบนมีมือข้างหนึ่งถือโทรศัพท์กดอยู่บนอวัยวะเพศ เป็นต้น สามารถปรากฎได้ในสื่อทุกรูปแบบ คลิปวีดิโอ การ์ตูน หรือการเขียนพรรณาให้เกิดจินตนาการ
การผลิต คือ การกระทำถ่ายคลิปต่าง ๆ การเผยแพร่ คือการจำหน่าย
กรณีนี้ จะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้ ต่อเมื่อ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับจึงจะเป็นความผิด ถ้าเป็นเด็กไม่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับก็เป็นความผิด
รูปแบบที่ ๔ การเอาคนลงเป็นทาส
ยกตัวอย่างเช่น คดีชาวโรฮิงญา มีการบังคับให้ไปประเทศมาเลเซีย ถ้าไม่ไปก็จะถูกขู่ฆ่า ต้องให้ญาติเอาเงินมาไถ่ตัว ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาต่อต้านการเอาคนลงเป็นทาส (Slavery Convention (๑๙๒๖)) ได้ นิยามคำว่า “ทาส” ว่าหมายถึง “สถานะหรือเงื่อนไขที่บุคคลหนึ่งมีอยู่เหนือบุคคลอื่นโดยมีการใช้อำนาจทุกอย่างอันพึงมีในฐานะเป็นเจ้าของ” มนุษย์ไม่อาจเป็นเจ้าของกันได้ คำว่า “เจ้าของ” ใช้เฉพาะทรัพย์สินเท่านั้น ในสมัยก่อนใครเป็นหนี้ต้องเอาตัวลงเป็นทาสเพื่อชดใช้หนี้ดังกล่าว และย่อมหมายถึงการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานเด็ก
อาจารย์หยุด แสงอุทัย ให้คำนิยามคำว่า "ทาส" คือการอยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่นโดยสิ้นเชิง และต้องทำงานให้แก่ผู้อื่น มีการอ้างสิทธิ์เหนือบุคคลอื่นโดยเด็ดขาดในเสรีภาพ ร่างกายของผู้นั้นโดยฝ่าฝืนความสมัครใจของผู้นั้น อาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ให้คำนิยามว่า "ทาส" คืออยู่ภายใต้บุคคลอื่นให้ทำงาน ไม่ได้ค่าตอบแทน ถูกทำโทษได้ หาได้อยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่นโดยเด็ดขาด ไม่แค่ถูกขู่ทำร้ายหรือถูกซ้อมเท่านั้นแม้ว่าจะมีเวลาทำอย่างอื่นได้บ้าง ก็ถือว่าเป็นทาส
การใช้แรงงานเกินกำลังของเด็กที่จะรับสภาพได้ กฏหมายแรงงานห้ามมิให้นายจ้างรับเด็กอายุยังไม่ถึง ๑๕ ปี ทำงานโดยเด็ดขาด และการทำร้ายร่างกายให้ทำงานเร็วขึ้น เมื่อเกิดบาดแผลก็ไม่รักษาพยาบาล ย่อมมีลักษณะเป็นการเอาคนลงเป็นทาส กรณีนี้จะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้ก็ต่อเมื่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่ได้สมัครใจเป็นสำคัญ
รูปแบบที่ ๕ การนำคนมาขอทาน
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๖ “ห้ามมิให้บุคคลใดทำการขอทาน" แต่จะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ ก็ต่อเมื่อมีบุคคลนำพามาบังคับใช้ให้เป็นขอทาน (ปัจจุบันยกเลิกโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.๒๕๕๙)
กรณีแม่เอาลูกมาเป็นขอทาน ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ ด้วย
รูปแบบที่ ๖ การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานบังคับขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๒๙ ให้นิยามคำว่า “แรงงานบังคับ” หมายถึง งานหรือบริการทุกชนิดซึ่งเกณฑ์เอาจากบุคคลใดใดโดยการขู่เข็ญ การลงโทษและซึ่งบุคคลดังกล่าวนั้นมิได้สมัครใจที่จะทำเอง
สัญญาจ้างแรงงานกับสัญญาจ้างทำของจะแตกต่างกัน เพราะสัญญาจ้างทำของจะยึดความสำเร็จของงานเป็นตัวตั้ง ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจไปกำกับดูแลเหมือนสัญญาจ้างแรงงาน สาเหตุที่กฎหมายค้ามนุษย์ไม่ได้ระบุคำว่าสัญญาจ้างทำของลงไปด้วยนั้น เพราะคำว่า “ให้บริการ” มีความหมายกว้างกว่านั้น เช่น ให้เด็กไปขายดอกไม้ หรือขายยาเสพติด ก็ถือว่าเป็นการบังคับให้บริการ
การบังคับใช้แรงงานและบริการ จะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้กรณีนี้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้องไม่สมัครใจ ซึ่งไม่ต้องถึงกับใช้กำลังกายภาพ แต่ถ้าทำให้บุคคลในภาวะเช่นนั้นไม่สามารถขัดขืนได้ เช่น นายจ้างยึดหนังสือพาสปอร์ตและไม่ยอมส่งเด็กลูกจ้างกลับบ้านในต่างประเทศ ก็เข้าข่ายเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์แล้ว
จุดอ่อนของกระบวนการยุติธรรม คือ มองว่าต้องเป็นการบังคับทางกายภาพหรือต่อร่างกายเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมถือว่าหากมีเสรีภาพในการเดินไปไหนมาไหนได้ ไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ แต่ปัจจุบันหากเด็กประสงค์จะกลับบ้านแล้วนายจ้างไม่ให้กลับบ้าน กรณีนี้ก็อาจถือว่า ทำให้เด็กอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ เป็นการบังคับแล้ว กฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๔๑
รูปแบบที่ ๗ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า
การค้าอวัยวะ ผู้ถูกกระทำต้องไม่สมัครใจ กล่าวคือ ต้องอยู่ในภาวะจำยอมหรือเป็นการบังคับถึงจะมีความผิดฐานค้ามนุษย์ กรณีนี้มักจะเกี่ยวข้องกับผู้มีวิชาชีพแพทย์
รูปแบบที่ ๘ การอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล
ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม การขูดรีด หากกระทำแก่บุคคลไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่แม้จะยินยอมก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการค้ามนุษย์ ซึ่งจะคล้ายคลึงกับรูปแบบที่ ๑ ถึงรูปแบบที่ ๗ ก็ได้ แต่ต้องทำการสอบสวนในประเด็นที่ว่ามีการกดขี่ ข่มเหง เอารัดเอาเปรียบกันโดยไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่
ตัวอย่าง มารดายินยอมปล่อยให้ลูกที่เป็นเด็กต่างด้าวเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรในลักษณะทอดทิ้งไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นแล้วนายจ้างก็ใช้แรงงานเด็กโดยขัดต่อกฎหมาย อันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก ซึ่งข้อแตกต่างของการหลบหนีเข้าเมืองกับการค้ามนุษย์ คือ ถ้าเป็นการค้ามนุษย์ คนหลบหนีเข้าเมืองจะหมดอิสรภาพไม่มีอำนาจตัดสินใจว่าจะไปในทิศทางใด แต่เป็นอำนาจตัดสินใจของคนนำพาเท่านั้น
กรณีมีการจับกุมข้อหาค้ามนุษย์มาส่งพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจะต้องซักถามให้ได้ความว่า เข้ากรณีรูปแบบใด ถ้าหากไม่สามารถอธิบายได้ก็ต้องตัดข้อหานั้นออกก่อน จนกว่าจะทำการสอบสวนมีพยานหลักฐานตามสมควรจึงจะแจ้งข้อหาเพิ่มเติมได้
(บทความนี้มาจากการฟังบรรยายของ ท่านสมพงศ์ เย็นแก้ว อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคดีศาลสูงภาค ๖)
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ความรู้เรื่องผู้ค้าประเวณี
- นิยามความผิดฐานค้ามนุษย์
(Update : 31/07/2559)
รูปแบบที่ ๑ การค้าประเวณี
การค้าประเวณี หมายความว่า “การยอมรับการกระทำชำเราหรือการยอมรับการกระทำอื่นใดหรือการกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่นอันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยอมรับการกระทำและผู้กระทำจะเป็นบุคคลเพศเดียวกันหรือคนละเพศ” การค้ามนุษย์ในรูปแบบนี้คือ การนำมนุษย์ไปเป็นโสเภณี อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.๒๕๓๙
คำว่า “การกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่” อันเป็นการค้าประเวณี หมายความรวมไปถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยปากให้แก่ผู้อื่นด้วย ส่วนคำว่า “เพื่อประโยชน์อื่นใด” นั้นไม่จำกัดว่าจะเป็นตัวเงินอย่างเดียว แต่มีความหมายกว้างกว่าสินจ้าง
การกระทำความผิดฐานค้าประเวณีนั้น แม้ว่าผู้ถูกกระทำชำเราหรือผู้กระทำชำเราได้สมัครใจยอมรับการกระทำ โดยไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญ ก็เป็นความผิดฐานค้าประเวณีได้ แต่ถ้าจะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้นั้น ถ้าผู้ถูกกระทำชำเรามีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะเข้าความผิดฐานค้ามนุษย์ได้นั้นผู้นั้นต้องถูกข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ฯลฯ ซึ่งหมายถึงการไม่สมัครใจนั่นเองตามมาตรา ๖ (๑) แต่ถ้าเป็นเด็กอายุยังไม่ถึง ๑๘ ปี แม้ไม่ต้องมีการข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ก็เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์แล้ว ตามมาตรา ๖ (๒) ทั้งนี้ การแสวงหาประโยชน์เพื่อประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว
รูปแบบที่ ๒ การแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบอื่น
การใช้เพศเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์หรือให้ขายสินค้าได้ แต่การกระทำนั้นต้องเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างอื่นด้วย เช่น การเปลือยกาย ซึ่งเป็นการแสดงลามกอนาจารในสถานที่สาธารณะหรือแสดงสิ่งที่น่าอับอายต่อหน้าธารกำนัล จึงจะเข้าลักษณะความผิดฐานค้ามนุษย์ กรณีรูปแบบนี้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับจึงจะเป็นความผิด ถ้าเป็นเด็กไม่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับก็เป็นความผิด
รูปแบบที่ ๓ การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก
สื่อลามก หมายถึง เป็นการแสดงออกในรูปภาพเปลือย เห็นอวัยวะเพศ มีเนื้อหาร่วมเพศ กระตุ้นทำให้เกิดความใคร่ทางกามารมณ์ เช่น ภาพหญิงเปลือยท่อนบนมีมือข้างหนึ่งถือโทรศัพท์กดอยู่บนอวัยวะเพศ เป็นต้น สามารถปรากฎได้ในสื่อทุกรูปแบบ คลิปวีดิโอ การ์ตูน หรือการเขียนพรรณาให้เกิดจินตนาการ
การผลิต คือ การกระทำถ่ายคลิปต่าง ๆ การเผยแพร่ คือการจำหน่าย
กรณีนี้ จะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้ ต่อเมื่อ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับจึงจะเป็นความผิด ถ้าเป็นเด็กไม่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับก็เป็นความผิด
รูปแบบที่ ๔ การเอาคนลงเป็นทาส
ยกตัวอย่างเช่น คดีชาวโรฮิงญา มีการบังคับให้ไปประเทศมาเลเซีย ถ้าไม่ไปก็จะถูกขู่ฆ่า ต้องให้ญาติเอาเงินมาไถ่ตัว ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาต่อต้านการเอาคนลงเป็นทาส (Slavery Convention (๑๙๒๖)) ได้ นิยามคำว่า “ทาส” ว่าหมายถึง “สถานะหรือเงื่อนไขที่บุคคลหนึ่งมีอยู่เหนือบุคคลอื่นโดยมีการใช้อำนาจทุกอย่างอันพึงมีในฐานะเป็นเจ้าของ” มนุษย์ไม่อาจเป็นเจ้าของกันได้ คำว่า “เจ้าของ” ใช้เฉพาะทรัพย์สินเท่านั้น ในสมัยก่อนใครเป็นหนี้ต้องเอาตัวลงเป็นทาสเพื่อชดใช้หนี้ดังกล่าว และย่อมหมายถึงการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานเด็ก
อาจารย์หยุด แสงอุทัย ให้คำนิยามคำว่า "ทาส" คือการอยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่นโดยสิ้นเชิง และต้องทำงานให้แก่ผู้อื่น มีการอ้างสิทธิ์เหนือบุคคลอื่นโดยเด็ดขาดในเสรีภาพ ร่างกายของผู้นั้นโดยฝ่าฝืนความสมัครใจของผู้นั้น อาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ให้คำนิยามว่า "ทาส" คืออยู่ภายใต้บุคคลอื่นให้ทำงาน ไม่ได้ค่าตอบแทน ถูกทำโทษได้ หาได้อยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่นโดยเด็ดขาด ไม่แค่ถูกขู่ทำร้ายหรือถูกซ้อมเท่านั้นแม้ว่าจะมีเวลาทำอย่างอื่นได้บ้าง ก็ถือว่าเป็นทาส
การใช้แรงงานเกินกำลังของเด็กที่จะรับสภาพได้ กฏหมายแรงงานห้ามมิให้นายจ้างรับเด็กอายุยังไม่ถึง ๑๕ ปี ทำงานโดยเด็ดขาด และการทำร้ายร่างกายให้ทำงานเร็วขึ้น เมื่อเกิดบาดแผลก็ไม่รักษาพยาบาล ย่อมมีลักษณะเป็นการเอาคนลงเป็นทาส กรณีนี้จะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้ก็ต่อเมื่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่ได้สมัครใจเป็นสำคัญ
รูปแบบที่ ๕ การนำคนมาขอทาน
ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.๒๔๘๔ มาตรา ๖ “ห้ามมิให้บุคคลใดทำการขอทาน" แต่จะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ ก็ต่อเมื่อมีบุคคลนำพามาบังคับใช้ให้เป็นขอทาน (ปัจจุบันยกเลิกโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.๒๕๕๙)
กรณีแม่เอาลูกมาเป็นขอทาน ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖ ด้วย
รูปแบบที่ ๖ การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ
อนุสัญญาว่าด้วยแรงงานบังคับขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๒๙ ให้นิยามคำว่า “แรงงานบังคับ” หมายถึง งานหรือบริการทุกชนิดซึ่งเกณฑ์เอาจากบุคคลใดใดโดยการขู่เข็ญ การลงโทษและซึ่งบุคคลดังกล่าวนั้นมิได้สมัครใจที่จะทำเอง
สัญญาจ้างแรงงานกับสัญญาจ้างทำของจะแตกต่างกัน เพราะสัญญาจ้างทำของจะยึดความสำเร็จของงานเป็นตัวตั้ง ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจไปกำกับดูแลเหมือนสัญญาจ้างแรงงาน สาเหตุที่กฎหมายค้ามนุษย์ไม่ได้ระบุคำว่าสัญญาจ้างทำของลงไปด้วยนั้น เพราะคำว่า “ให้บริการ” มีความหมายกว้างกว่านั้น เช่น ให้เด็กไปขายดอกไม้ หรือขายยาเสพติด ก็ถือว่าเป็นการบังคับให้บริการ
การบังคับใช้แรงงานและบริการ จะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้กรณีนี้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต้องไม่สมัครใจ ซึ่งไม่ต้องถึงกับใช้กำลังกายภาพ แต่ถ้าทำให้บุคคลในภาวะเช่นนั้นไม่สามารถขัดขืนได้ เช่น นายจ้างยึดหนังสือพาสปอร์ตและไม่ยอมส่งเด็กลูกจ้างกลับบ้านในต่างประเทศ ก็เข้าข่ายเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์แล้ว
จุดอ่อนของกระบวนการยุติธรรม คือ มองว่าต้องเป็นการบังคับทางกายภาพหรือต่อร่างกายเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมถือว่าหากมีเสรีภาพในการเดินไปไหนมาไหนได้ ไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ แต่ปัจจุบันหากเด็กประสงค์จะกลับบ้านแล้วนายจ้างไม่ให้กลับบ้าน กรณีนี้ก็อาจถือว่า ทำให้เด็กอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ เป็นการบังคับแล้ว กฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๔๑
รูปแบบที่ ๗ การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า
การค้าอวัยวะ ผู้ถูกกระทำต้องไม่สมัครใจ กล่าวคือ ต้องอยู่ในภาวะจำยอมหรือเป็นการบังคับถึงจะมีความผิดฐานค้ามนุษย์ กรณีนี้มักจะเกี่ยวข้องกับผู้มีวิชาชีพแพทย์
รูปแบบที่ ๘ การอื่นใดที่คล้ายคลึงกันอันเป็นการขูดรีดบุคคล
ไม่ว่าบุคคลนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม การขูดรีด หากกระทำแก่บุคคลไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่แม้จะยินยอมก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการค้ามนุษย์ ซึ่งจะคล้ายคลึงกับรูปแบบที่ ๑ ถึงรูปแบบที่ ๗ ก็ได้ แต่ต้องทำการสอบสวนในประเด็นที่ว่ามีการกดขี่ ข่มเหง เอารัดเอาเปรียบกันโดยไม่เป็นธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่
ตัวอย่าง มารดายินยอมปล่อยให้ลูกที่เป็นเด็กต่างด้าวเข้ามาทำงานในราชอาณาจักรในลักษณะทอดทิ้งไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นแล้วนายจ้างก็ใช้แรงงานเด็กโดยขัดต่อกฎหมาย อันเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากเด็ก ซึ่งข้อแตกต่างของการหลบหนีเข้าเมืองกับการค้ามนุษย์ คือ ถ้าเป็นการค้ามนุษย์ คนหลบหนีเข้าเมืองจะหมดอิสรภาพไม่มีอำนาจตัดสินใจว่าจะไปในทิศทางใด แต่เป็นอำนาจตัดสินใจของคนนำพาเท่านั้น
กรณีมีการจับกุมข้อหาค้ามนุษย์มาส่งพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนจะต้องซักถามให้ได้ความว่า เข้ากรณีรูปแบบใด ถ้าหากไม่สามารถอธิบายได้ก็ต้องตัดข้อหานั้นออกก่อน จนกว่าจะทำการสอบสวนมีพยานหลักฐานตามสมควรจึงจะแจ้งข้อหาเพิ่มเติมได้
(บทความนี้มาจากการฟังบรรยายของ ท่านสมพงศ์ เย็นแก้ว อัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคดีศาลสูงภาค ๖)
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ความรู้เรื่องผู้ค้าประเวณี
- นิยามความผิดฐานค้ามนุษย์
(Update : 31/07/2559)