ความผิดฐานค้ามนุษย์ ส่วนมากจะมีการกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่น เช่น ประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี กฎหมายคนเข้าเมือง หรือกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท สุดท้ายแล้ว ศาลจะลงโทษบทหนักแก่ผู้กระทำผิด
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีค้ามนุษย์ ได้แก่
- พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑- พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๘
- พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๐
- พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๙
- ประมวลกฎหมายอาญา
- พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.๒๕๓๙
- พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.๒๕๔๖
- พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.๒๕๐๙
- พระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๔๖
- พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.๒๕๒๒
- พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๕๑
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑
- กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๖๐
- พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.๒๕๕๙
- พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.๒๕๕๔
- พระราชบัญญัติจัดระเบียบกิจการแพปลา พ.ศ.๒๔๙๖
- พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.๒๔๕๖
- พระราชบัญญัติเรือไทย พ.ศ.๒๔๘๑
- พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.๒๕๕๘
- พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย พ.ศ.๒๔๘๒
- พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.๒๕๕๑
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐
- พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒