วันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

จัดเรียงบทความ

บทบัญญัติของกฎหมาย             
             -  กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคดีค้ามนุษย์
             -  กฎ ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
             -  นิยามความผิดฐานค้ามนุษย์
             -  รูปแบบการค้ามนุษย์
             -  ข้อกฎหมายเกี่ยวกับผู้ค้าประเวณี
             -  กระบวนการพิจารณาสถานประกอบกิจการที่มีการค้ามนุษย์

ขั้นตอนการดำเนินคดี
             -  ขั้นตอนรับแจ้งความและสอบสวนคดีค้ามนุษย์
             -  กระบวนการสอบสวนผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์
             -  การสืบพยานไว้ก่อนและคุ้มครองผู้เสียหาย
             -  แบบฟอร์มหนังสือขอสืบพยานไว้ล่วงหน้า

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

กฎ ระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์

กฎกระทรวง
ระเบียบกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
-  ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยมาตรการทางบริหารในการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๘

ประกาศคณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์
-  ประกาศคณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการรายงานการดําเนินการทางวินัยและการดําเนินคดี

ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี
-  ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในสถานประกอบกิจการ โรงงาน และยานพาหนะ  (๑๙ พ.ย.๒๕๕๘)

ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
-  ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสั่งปิดสถานประกอบกิจการหรือโรงงานชั่วคราว การพักใช้ใบอนุญาตประกอบการสําหรับการประกอบธุรกิจหรือโรงงาน การห้ามใช้ยานพาหนะเป็นการชั่วคราว หรือดําเนินมาตรการที่จําเป็นเพื่อป้องกันการกระทําผิดขึ้นอีก  (๒๔ พ.ย.๒๕๕๘)
-  แก้คำผิด ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการสั่งปิดสถานประกอบกิจการหรือโรงงานชั่วคราว การพักใช้ใบอนุญาตประกอบการสําหรับการประกอบธุรกิจหรือโรงงาน การห้ามใช้ยานพาหนะเป็นการชั่วคราว หรือดําเนินมาตรการที่จําเป็นเพื่อป้องกันการกระทําผิดขึ้นอีก ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป  (๑๑ ม.ค.๒๕๕๙)

ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
-  ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยการจดทะเบียนองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๒
-  ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บบรักษาเงิน การจัดหาผลประโยชน์ และการจัดการกองทุน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๒
-  ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยการรายงานสถานะการเงินและการจัดการกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๒
-  แผนบูรณาการปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (๒๑ ธ.ค.๒๕๕๙)

ระเบียบคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
-  ระเบียบคณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๒

ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
-  ประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  (๒๓ พ.ย.๒๕๕๒)

ประกาศคณะกรรมการประสานและกํากับการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
-  ประกาศคณะกรรมการประสานและกํากับการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง กําหนดวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายเป็นเงินรางวัลและค่าตอบแทนในการนําจับและดําเนินคดีกับผู้กระทําความผิดฐานค้ามนุษย์จากกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  (๒๖ ก.พ.๒๕๕๙)
-  ประกาศคณะกรรมการประสานและกํากับการดําเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง วงเงินและรายการค่าใช้จ่าย ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นในการให้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  (๒๗ ม.ค.๒๕๕๓)

คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

รูปแบบการค้ามนุษย์


รูปแบบการค้ามนุษย์
                การแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ ในความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามมาตรา ๔ แห่ง พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.๒๕๕๑ มี ๘ รูปแบบ ดังนี้
                รูปแบบที่ ๑  การค้าประเวณี
                การค้าประเวณี หมายความว่า “การยอมรับการกระทำชำเราหรือการยอมรับการกระทำอื่นใดหรือการกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ของผู้อื่นอันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือเพื่อประโยชน์อื่นใด ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ยอมรับการกระทำและผู้กระทำจะเป็นบุคคลเพศเดียวกันหรือคนละเพศ” การค้ามนุษย์ในรูปแบบนี้คือ การนำมนุษย์ไปเป็นโสเภณี อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.๒๕๓๙
                คำว่า “การกระทำอื่นใดเพื่อสำเร็จความใคร่” อันเป็นการค้าประเวณี หมายความรวมไปถึงการสำเร็จความใคร่ด้วยปากให้แก่ผู้อื่นด้วย ส่วนคำว่า “เพื่อประโยชน์อื่นใด” นั้นไม่จำกัดว่าจะเป็นตัวเงินอย่างเดียว แต่มีความหมายกว้างกว่าสินจ้าง
                การกระทำความผิดฐานค้าประเวณีนั้น แม้ว่าผู้ถูกกระทำชำเราหรือผู้กระทำชำเราได้สมัครใจยอมรับการกระทำ โดยไม่มีการบังคับ ขู่เข็ญ ก็เป็นความผิดฐานค้าประเวณีได้  แต่ถ้าจะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้นั้น ถ้าผู้ถูกกระทำชำเรามีอายุตั้งแต่ ๑๘ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป จะเข้าความผิดฐานค้ามนุษย์ได้นั้นผู้นั้นต้องถูกข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ฯลฯ ซึ่งหมายถึงการไม่สมัครใจนั่นเองตามมาตรา ๖ (๑) แต่ถ้าเป็นเด็กอายุยังไม่ถึง ๑๘ ปี แม้ไม่ต้องมีการข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ก็เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์แล้ว ตามมาตรา ๖ (๒) ทั้งนี้ การแสวงหาประโยชน์เพื่อประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว
                 รูปแบบที่ ๒  การแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบอื่น
                 การใช้เพศเป็นเครื่องมือในการแสวงหาประโยชน์หรือให้ขายสินค้าได้ แต่การกระทำนั้นต้องเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างอื่นด้วย เช่น การเปลือยกาย ซึ่งเป็นการแสดงลามกอนาจารในสถานที่สาธารณะหรือแสดงสิ่งที่น่าอับอายต่อหน้าธารกำนัล จึงจะเข้าลักษณะความผิดฐานค้ามนุษย์ กรณีรูปแบบนี้ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับจึงจะเป็นความผิด ถ้าเป็นเด็กไม่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับก็เป็นความผิด
                  รูปแบบที่ ๓  การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก
                  สื่อลามก หมายถึง เป็นการแสดงออกในรูปภาพเปลือย เห็นอวัยวะเพศ มีเนื้อหาร่วมเพศ กระตุ้นทำให้เกิดความใคร่ทางกามารมณ์ เช่น ภาพหญิงเปลือยท่อนบนมีมือข้างหนึ่งถือโทรศัพท์กดอยู่บนอวัยวะเพศ เป็นต้น สามารถปรากฎได้ในสื่อทุกรูปแบบ คลิปวีดิโอ การ์ตูน หรือการเขียนพรรณาให้เกิดจินตนาการ
                  การผลิต คือ การกระทำถ่ายคลิปต่าง ๆ การเผยแพร่ คือการจำหน่าย
                  กรณีนี้ จะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้ ต่อเมื่อ ถ้าเป็นผู้ใหญ่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับจึงจะเป็นความผิด ถ้าเป็นเด็กไม่ต้องมีการข่มขู่หรือใช้กำลังบังคับก็เป็นความผิด
                  รูปแบบที่ ๔  การเอาคนลงเป็นทาส
                  ยกตัวอย่างเช่น คดีชาวโรฮิงญา มีการบังคับให้ไปประเทศมาเลเซีย ถ้าไม่ไปก็จะถูกขู่ฆ่า ต้องให้ญาติเอาเงินมาไถ่ตัว ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาต่อต้านการเอาคนลงเป็นทาส (Slavery Convention (๑๙๒๖)) ได้ นิยามคำว่า “ทาส” ว่าหมายถึง “สถานะหรือเงื่อนไขที่บุคคลหนึ่งมีอยู่เหนือบุคคลอื่นโดยมีการใช้อำนาจทุกอย่างอันพึงมีในฐานะเป็นเจ้าของ” มนุษย์ไม่อาจเป็นเจ้าของกันได้ คำว่า “เจ้าของ” ใช้เฉพาะทรัพย์สินเท่านั้น ในสมัยก่อนใครเป็นหนี้ต้องเอาตัวลงเป็นทาสเพื่อชดใช้หนี้ดังกล่าว และย่อมหมายถึงการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากแรงงานเด็ก
                 อาจารย์หยุด แสงอุทัย ให้คำนิยามคำว่า "ทาส" คือการอยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่นโดยสิ้นเชิง และต้องทำงานให้แก่ผู้อื่น มีการอ้างสิทธิ์เหนือบุคคลอื่นโดยเด็ดขาดในเสรีภาพ ร่างกายของผู้นั้นโดยฝ่าฝืนความสมัครใจของผู้นั้น อาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ให้คำนิยามว่า "ทาส" คืออยู่ภายใต้บุคคลอื่นให้ทำงาน ไม่ได้ค่าตอบแทน ถูกทำโทษได้ หาได้อยู่ภายใต้อำนาจของผู้อื่นโดยเด็ดขาด ไม่แค่ถูกขู่ทำร้ายหรือถูกซ้อมเท่านั้นแม้ว่าจะมีเวลาทำอย่างอื่นได้บ้าง ก็ถือว่าเป็นทาส
                 การใช้แรงงานเกินกำลังของเด็กที่จะรับสภาพได้ กฏหมายแรงงานห้ามมิให้นายจ้างรับเด็กอายุยังไม่ถึง ๑๕ ปี ทำงานโดยเด็ดขาด และการทำร้ายร่างกายให้ทำงานเร็วขึ้น เมื่อเกิดบาดแผลก็ไม่รักษาพยาบาล ย่อมมีลักษณะเป็นการเอาคนลงเป็นทาส กรณีนี้จะเป็นความผิดฐานค้ามนุษย์ได้ก็ต่อเมื่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่ได้สมัครใจเป็นสำคัญ

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับผู้ค้าประเวณี

ผู้กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.๒๕๓๙ (โดยย่อ)

              สถานการค้าประเวณี  หมายความว่า สถานที่ที่จัดไว้เพื่อการค้าประเวณี หรือยอมให้มีการค้าประเวณี และให้หมายความรวมถึง สถานที่ที่ใช้ในการติดต่อหรือจัดหาบุคคลอื่นเพื่อการค้าประเวณีด้วย

คำชี้ขาดความเห็นแย้งที่ ๖๕/๒๕๕๓
พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีฯ (มาตรา ๙, ๑๑)
ป.อ. เป็นธุระจัดหาฯ (มาตรา ๒๘๒)
             คดีมีผู้กล่าวหากับพวกซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจยืนยันว่าเข้าล่อซื้อการค้าประเวณีที่ร้านอาหารที่เกิดเหตุ มีผู้ต้องหาซึ่งดูแลกิจการร้านอาหารดังกล่าวเข้ามาติดต่อกับผู้กล่าวหากับพวกว่า ต้องการหญิงสาวชาวลาวไปร่วมหลับนอนหรือไม่ เมื่อผู้กล่าวหากับพวกตอบตกลงและได้จ่ายเงินจำนวน ๓,๐๐๐ บาท เป็นธนบัตรที่ได้ลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก่อนหน้าแล้ว จึงพาหญิงสาวชาวลาว ๓ คน ซึ่งขายบริการออกไปจากร้าน พร้อมทั้งได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจอื่นซึ่งสังเกตการณ์อยู่เข้าจับกุมและยึดเงินสดที่ล่อซื้อ
             คดีมีหลักฐานพอฟ้อง ชี้ขาดให้ฟ้องและอนุญาตให้ฟ้องผู้ต้องหา ฐานเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแล หรือผู้จัดการ กิจการการค้าประเวณีหรือสถานการค้าประเวณีและเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป หรือชักพาไปซึ่งบุคคลใดเพื่อการอนาจาร เพื่อให้บุคคลนั้นกระทำการค้าประเวณี แม้บุคคลนั้นจะยินยอมก็ตาม ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๙, ๑๑  ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๒, ๙๐, ๙๑  พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๔  พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๔) พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๔
             (ข้อพิจารณา.-  สถานที่ที่ใช้ในการติดต่อหรือจัดหาบุคคลอื่นเพื่อการค้าประเวณี แม้ไม่ใช่สถานที่ที่มีไว้สำหรับการค้าประเวณีหรือไม่ได้มีลักษณะเพื่อการค้าประเวณีโดยตรง กฎหมายก็ให้ถือว่าเป็นสถานการค้าประเวณีแล้ว แต่กรณีจะถือว่าเจ้าของ ผู้ดูแล หรือผู้จัดการสถานที่ดังกล่าวนั้น เป็นเจ้าของ ผู้ดูแล หรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณีตามกฎหมายนี้ด้วยนั้น ต้องปรากฎว่าบุคคลดังกล่าวมีเจตนารู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดด้วย)
             ผู้ติดต่อ แนะนำหรือมั่วสุม ทั้งหญิง-ชาย
             มาตรา ๕  เข้าติดต่อ ชักชวน แนะนำตัว ติดตาม หรือรบเร้า  ตามถนน สาธารณสถาน หรือในที่อื่นใด  เพื่อการค้าประเวณี อันเป็นการเปิดเผยและน่าอับอาย หรือเป็นที่เดือดร้อนรำคาญแก่สาธารณชน  (ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)
             มาตรา ๖  เข้าไปมั่วสุมในสถานการค้าประเวณี  เพื่อประโยชน์ในการค้าประเวณีของตนหรือผู้อื่น  (ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  ถ้าถูกบังคับ หรือตกอยู่ภายใต้อำนาจซึ่งไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนได้ ผู้กระทำไม่มีความผิด)
             (ข้อพิจารณา.-  ผู้ที่เข้าติดต่อ แนะนำตัวเพื่อค้าประเวณีโดยเปิดเผยและน่าอับอายในสถานที่อื่นใด หรือ กรณีมั่วสุมอยู่ในสถานการค้าประเวณี ผู้นั้นมีโทษตามกฎหมายแต่ค่อนข้างเบา แต่ถ้าผู้ค้าประเวณีเข้าติดต่อกันอย่างลับ ๆ ไม่ได้มีลักษณะเป็นการมั่วสุมกันอยู่ในสถานที่ติดต่อแนะนำตัว การกระทำของผู้นั้นย่อมไม่เป็นความผิดมาตรานี้
             ผู้โฆษณา
             มาตรา ๗  ผู้ใดโฆษณาหรือรับโฆษณา ชักชวน หรือแนะนำตัว  ด้วยเอกสาร สิ่งพิมพ์ หรือกระทำให้แพร่หลายด้วยวิธีใดไปยังสาธารณะ  ในลักษณะที่เห็นได้ว่าเป็นการเรียกร้องหรือการติดต่อเพื่อการค้าประเวณีของตนเองหรือผู้อื่น  (ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสองปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)